Andaman Discoveries – เรื่องราวของเรา
จากการบรรเทาภัยพิบัติสู่การพึ่งพาตนเอง
จากการบรรเทาภัยพิบัติสึนามิในปีพ.ศ. 2547 กลุ่มเพื่อนอันดามันเหนือ (NorthAndaman Tsunami Relief – NATR) ได้เกิดขึ้นจากเครือข่ายผู้สนับสนุนทั้งจากการเป็นอาสาสมัครและบริจาคเงินดำเนินการโครงการต่างๆ กว่า 120 โครงการใน 12 หมู่บ้าน ทั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกับชุมชน ที่เกิดจากการรับฟังข้อคิดเห็นและความต้องการของชุมชนโครงการทั้งหมดมุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืนทางสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในระยะยาวและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่เป็นไปได้ผ่านการฝึกอบรมและการตลาด
สึนามินำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่ง:หมู่บ้านที่หายไป ได้ถูกสร้างขึ้นมาอีกครั้ง ชีวิตที่ได้รับผลกระทบและคนที่สูญเสียก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สร้างโอกาสใหม่ กระตุ้นให้ชุมชนต่อสู้ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยวตามชุมชนจากกลุ่มเพื่อนอันดามันเหนือ เราก็ได้เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อทำงานร่วมกับชุมชนต่อไปเกิดเป็นอันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์ที่ดำเนินงานในฐานะองค์กรทางสังคมเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนในท้องถิ่นสร้างโอกาสแห่งความจริงขึ้นโดยการแนะนำนักเดินทางที่ต้องการเรียนรู้ประสบการณ์จากชุมชนเราทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้มาเยือนจากต่างถิ่นกับชุมชนชนบทที่ดำเนินชีวิตตามธรรมชาติผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้วยเอกสารสนับสนุน เช่น คู่มือภาษาไทยสำหรับผู้มาเยือนและการเป็นล่ามเพื่อให้เกิดการสื่อสารระหว่างกัน
ที่บ้านทะเลนอก หมู่บ้านบางส่วนถูกทำลายและสูญเสียคนในชุมชน 47 คน จาก 228 คน หลายคนสูญเสียบ้านและอุปกรณ์ประมงซึ่งเป็นที่มาของรายได้และไม่มีเงินออมหลังจากได้รับความช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน เช่น อาหารและที่พัก ชุมชนเริ่มคิดถึงอนาคตและนำไปสู่การพัฒนาวิถีชีวิต จากการเห็นความนิยมในการท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียงของเขาหลักและภูเก็ตชุมชนตระหนักถึงศักยภาพของการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามชาวบ้านจำนวนมากยังกังวลว่าการท่องเที่ยวจะบ่อนทำลายและคุกคามต่อวัฒนธรรมและพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ยังไม่พัฒนา
การเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ชาวบ้านตัดสินใจว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนจะช่วยให้พวกเขามีรายได้เสริมรักษาประเพณีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของพวกเขา การท่องเที่ยวโดยชุมชนสามารถดำเนินไปได้กับชีวิตของพวกเขาและไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม
การท่องเที่ยวโดยชุมชนต้องใช้เวลามากกว่าการประชุมเพียงไม่กี่ครั้งหรือการตัดสินใจว่าบ้านใดจะเปิดรับแขกเป็นโฮมสเตย์ และใครจะเป็นมัคคุเทศก์ชุมชนการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน บอกเล่าสิ่งที่ชาวบ้านเห็นว่ามีความสำคัญเพื่อนำมาพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว
ด้วยความร่วมมือจากชุมชนอันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์ได้ประเมินความเป็นไปได้ของชุมชนเพื่อพิจารณาว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนสามารถตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนหรือไม่การประเมินเหล่านี้มีทั้ง:
- การประชุมเชิงปฏิบัติการหลายครั้ง เพื่อพิจารณาถึงเป้าหมายและความต้องการของชุมชน
- การสำรวจผลกระทบเชิงบวกและลบของการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน รวมทั้งการศึกษาดูงานการท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จ (เช่น โฮมสเตย์ของเกาะยาวน้อย การท่องเที่ยวชุมชนและวัฒนธรรมในคีรีวง และติดตามการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในเขาหลักที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว)
- สนับสนุนชาวบ้านในการสร้างกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ และจัดการฝึกอบรม รวมทั้งให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทัวร์นำร่องเพื่อประเมินความเหมาะสมและความยั่งยืน
- การพัฒนาทักษะด้านการท่องเที่ยวผ่านการฝึกอบรมและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
- การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรวบรวมข้อมูลจัดพิมพ์หนังสือ “อันดามัน วิถีแห่งชีวิต” ทั้งนี้ชุมชนเป็นผู้รวบรวมข้อมูล ก่อให้เกิดการรับรู้ถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและวิถีทางธรรมชาติ
- ช่วยชุมชนในการออกแบบการท่องเที่ยวในชุมชนและเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ เพื่อเน้นจุดสนใจและคุณค่าของสิ่งที่มี
ด้วยฐานะของอันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร ทำให้เราสามารถสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน เนื่องจากเรามี:
- มีความสัมพันธ์ที่ดียิ่งกับสมาชิกในชุมชน
- เจ้าหน้าที่ภาคสนามที่มีความรู้ที่มีความรู้ในพื้นที่
- เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความสำคัญของการรับฟังความต้องการของแต่ละชุมชน
- การรักษาสัญญาของเราที่ผ่านมา
- วิสัยทัศน์ร่วมกันสำหรับอนาคต
จากการรวบรวมข้อมูลชุมชนที่ได้จากการทำงานร่วมกันอันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์ได้จัดพิมพ์และเผยแพร่หนังสือ “อันดามัน วิถีแห่งชีวิต”ซึ่งรวบรวมโดยคนในชุมชน 30 คนจาก 6 ชุมชน ให้กับหมู่บ้านต่างๆ หนังสือเล่มนี้ทำให้ชุมชนได้รับทราบและเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมของตนสิ่งนี้ได้นำไปสู่การจัดประชุมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน “วิถีแห่งชีวิตวิถีแห่งความภูมิใจ” ที่คุระบุรี พังงา โดยชุมชนเป็นผู้จัดและสนับสนุนโดยอันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย(สทอ.) ในการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมที่หลากหลายทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำชุมชน คนในท้องถิ่น และสื่อมวลชน
การศึกษา
เมื่อชุมชนมีความเข้มแข็งการศึกษาจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความรับผิดชอบ การสร้างเป้าหมายร่วมกัน และการพัฒนาทักษะในทุกด้านไม่เพียง แต่การท่องเที่ยวเท่านั้น อันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์โดยมูลนิธิเครือข่ายอันดามันเหนือ ได้ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้สามารถศึกษาระดับมัธยมปลายสำเร็จสนับสนุนด้านสถานที่ให้แก่การศึกษานอกระบบเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านในชุมชนบ้านทะเลนอก
การฝึกอบรม
สนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยอันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์ได้ดำเนินการฝึกอบรมวิชาชีพระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคมพ.ศ. 2549 เป็นเวลา 7 เดือน ในชื่อ โครงการ Adventure,Community and Eco-Tourism (ACE) ทั้งนี้ในหลักสูตรได้มีการสอนในเรื่อง:
- การท่องเที่ยวในฐานะเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน วิธีการประเมินชุมชน และการเขียนข้อเสนอโครงการ
- วิธีการนำเสนอวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย โดย John Gray Sea Canoe)
- การฝึกอบรมด้านการปฐมพยาบาลและความปลอดภัย โดยโรงพยาบาลมิชชั่น ภูเก็ต
- ทักษะด้านภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์
- การอบรมการเป็นผู้ประกอบการและจัดการธุรกิจขนาดเล็ก โดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- ทักษะการวางแผนการท่องเที่ยวและการเป็นเจ้าบ้าน รวมทั้งพลวัตรทางการท่องเที่ยว โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย(สทอ.)
วัตถุประสงค์ของโครงการนี้เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านที่มีแรงจูงใจเหล่านี้มีทักษะที่จำเป็น เมื่อพวกเขากลับไปที่หมู่บ้านของตนและสามารถมีส่วนร่วมหรือเป็นผู้มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนและ/หรือการท่องเที่ยวได้ ACE ที่สำเร็จหลักสูตรนี้จากบ้านทะเลนอกเป็นตัวอย่างที่ดีในการนำสิ่งที่ได้รับการอบรมไปใช้งานเธอได้เป็นผู้ประสานงานชุมชนและริเริ่มโครงการในชุมชนหลายโครงการ เช่น การเต้นแอโรบิกประจำวันการจัดการขยะ การอนุรักษ์ป่าชายเลน และการศึกษาผู้ใหญ่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการท่องเที่ยว
การสร้างโอกาส
เมื่อฉิมและน้อยจากบ้านทุ่งนางดำ สำเร็จจากการฝึกอบรมดังกล่าวและเห็นว่าในชุมชนของตนต้องการท่าเรือลอยน้ำ จึงได้เขียนโครงการเสนอสำหรับการจัดทำท่าเรือลอยน้ำ ซึ่งได้จัดทำจนสำเร็จ และเงินทุนส่วนหนึ่งได้มาจากการท่องเที่ยว
ผลงานอื่นๆ ได้แก่ คู่มือภาษาอังกฤษสำหรับการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อให้มัคคุเทศก์ท้องถิ่นและเจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์ใช้ โดยได้มีการอบรมการใช้งานคู่มือจากพนักงานและอาสาสมัครของอันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์ อย่างไรก็ตามการเสริมสร้างความเข้มแข็ง การศึกษา และการอบรมจะไม่เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อมในระยะยาว หากไม่สร้างโอกาสที่เป็นจริง
อันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมและการตลาดเพื่อความสำเร็จของโครงการท่องเที่ยวและโครงการหัตถกรรม และการขยายงานเพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนโดยในเว็บไซต์ของเรานี้มีทั้งวีดิทัศน์รายการนำเที่ยว บทความในสื่อต่างๆ การส่งเสริม การตลาด และการขยายงานจะต้องใช้เงินสนับสนุนซึ่งมักเป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน เราจึงได้สรุปว่าเราไม่สามารถสนับสนุนและให้บริการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากรายได้จากการท่องเที่ยวแต่เพียงอย่างเดียวเนื่องมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวในหมู่บ้านที่ไม่แน่นอน อันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์ยังดำรงอยู่ได้ด้วยพนักงานที่คำนึงถึงความเป็นเพื่อนและคิดเฉพาะค่าตอบแทนในขณะที่ได้รับการสนับสนุนจากทุนภายนอกอันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์เป็นสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างโลกภายนอกกับชุมชนในพื้นที่ในแง่ของการสื่อสารและหาแหล่งเงินทุนเพื่อทำให้โครงการที่นำโดยชุมชนเป็นไปได้เราให้บริการและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนที่มีความหมายระหว่างชุมชนกับผู้มาเยือน
เรารับรองว่ากำไรส่วนใหญ่จากการท่องเที่ยวแต่ละหมู่บ้านจะกลับไปสู่ชาวบ้านโดยตรง10% ของค่าใช้จ่ายในหมู่บ้านของผู้มาเยือนจะถูกเก็บไว้เป็นกองทุนหมู่บ้าน นี่เป็นสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งสำหรับชาวบ้านที่อาจต้องออกไปหางานนอกหมู่บ้านวิธีนี้ช่วยให้การพัฒนาชุมชนและการท่องเที่ยวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์ไม่มีการเรียกเก็บเงินจากชาวบ้านสำหรับบริการฝึกอบรม หรือการสนับสนุนใด ๆ
อนาคตที่มีความหวัง
อันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนโดยการจัดหาทักษะวิชาชีพและสร้างความมั่นใจว่าชุมชนจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการท่องเที่ยวอันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์เป็นสะพานเชื่อมระหว่างชุมชนที่ต้องการเข้าร่วมในการท่องเที่ยวกับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรมดั้งเดิมของภาคใต้และระบบนิเวศที่บริสุทธิ์การเยือนชุมชนกับอันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์สร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับชุมชนล่ามจะร่วมเดินทางกับคุณตลอดการเดินทาง คุณสามารถดาวน์โหลดPhrase Book ของเรา และเรามีพนักงานไว้คอยช่วยเหลือ
สร้างความแตกต่างในการใช้วันหยุดของคุณ
นักท่องเที่ยวที่เต็มใจที่จะใช้เวลาและเงินของตนในการติดตามสังเกตสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม เพื่อเป็นการยืนยันว่าชุมชนมีความสำคัญในการรักษาสิ่งที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ บางกิจกรรมได้สร้างงานใหม่และเกิดรายได้ให้แก่ผู้ที่เคยไม่มีงานทำ
“การท่องเที่ยวโดยชุมชนคือการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมสังคมและวัฒนธรรม เป็นเจ้าของและจัดการโดยชุมชน เพื่อชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้มาเยือนสามารถเพิ่มความตระหนักและเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนและวิถีชีวิตท้องถิ่น – โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ (Responsible Ecological Social Tours Project, REST) 2540
สะพานเชื่อมระหว่างนักท่องเที่ยวและชุมชน
อันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์นำนักท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและอาสาสมัครสู่ชุมชน เพื่อช่วยให้ชุมชนได้ประโยชน์จากรายได้เสริมที่เกิดจากการท่องเที่ยว และเพื่อลดความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งประชากรปลาและสัตว์ทะเลที่เคยลดลง
การเยี่ยมชมหมู่บ้านการมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม และการเยือนระบบนิเวศอันหลากหลายของชายฝั่งอันดามันตอนบนคุณช่วยให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ชาวบ้านใช้การท่องเที่ยวเพื่อแสดงถึงวัฒนธรรมและรักษาสภาพแวดล้อมของพวกเขาซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับทั้งหมู่บ้านโดยตรง และโดยอ้อมด้วยการสนับสนุนโครงการที่นำโดยชุมชน ด้วยความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ช่วยให้การท่องเที่ยวส่วนใหญ่ซึ่งมักใช้ประโยชน์จากชาวบ้านและทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ห่างไกลจากชุมชนของพวกเขา
จากภัยพิบัติสู่การพัฒนา
ก่อนเกิดเหตุการณ์สึนามิ ส่วนใหญ่ชุมชนชายฝั่งอันดามันมีวิถีชีวิตแบบชาวประมงดั้งเดิม ในขณะที่คนหนุ่มสาวที่ออกจากพื้นที่เพื่อหางานทำในเมืองใหญ่ มีความแตกต่างทางเศรษฐกิจน้อยมากในพื้นที่ ในขณะที่การท่องเที่ยวได้เคลื่อนตัวมาทางเหนืออย่างช้าๆ จากเขาหลัก ซึ่งเริ่มแสดงถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ แต่น่าเสียดายที่อาจจะหมายความว่าพื้นที่นี้กำลังเผชิญกับภัยคุกคามของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีขนาดใหญ่และมีการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คำนึงถึงประโยชน์ สิ่งนี้เป็นอันตรายต่อชุมชนท้องถิ่นที่ไม่ได้เตรียมพร้อม ทั้งในแง่ของทักษะในการทำงานและความยืดหยุ่นทางวัฒนธรรม ที่อาจนำไปสู่การเสื่อมของชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติอย่างรวดเร็ว
แผนในอนาคต
ในการประชุมแผนยุทธศาสตร์ประจำปีของจังหวัดพังงาเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 จังหวัดและรัฐบาลได้ร่างแผนงานเพื่อการท่องเที่ยวในภูมิภาค พังงาได้รับเลือกให้เป็นแหล่งโฮมสเตย์และศูนย์อนุรักษ์เชิงนิเวศ โดยเน้นการท่องเที่ยวแบบ “นุ่มนวล” และการพัฒนาธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่ประชุมได้รับรู้ถึงการขยายตัวของการท่องเที่ยวไปทางเหนือของภูเก็ตและเขาหลัก การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่คำนึงถึงความงามและความหลากหลายทางธรรมชาติที่โดดเด่นของพื้นที่นี้ อันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์หวังว่าจะสนับสนุนแผนงานนี้ด้วยการทำงานร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายในพื้นที่นี้ อันดามันดิสคอฟเวอรี่ส์และชุมชนในพื้นที่ไม่ต้องการให้วัฒนธรรมดั้งเดิมหรือระบบนิเวศถูกคุกคามโดยการพัฒนาการท่องเที่ยวที่รวดเร็วและเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน